ประชาสัมพันธ์การให้ความรู้เกี่ยวกับการ “คลอดก่อนกำหนด”

///ประชาสัมพันธ์การให้ความรู้เกี่ยวกับการ “คลอดก่อนกำหนด”

ประชาสัมพันธ์การให้ความรู้เกี่ยวกับการ “คลอดก่อนกำหนด”

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการ คลอดก่อนกำหนด

นิยามของคำว่า คลอดก่อนกำหนด ก่อนจะรู้จักคำว่า “คลอดก่อนกำหนด” นั้น ต้องเข้าใจก่อนครับว่า การคลอด “ครบกำหนด” ในทางการแพทย์ คือคลอดในช่วงอายุครรภ์ 37-40 สัปดาห์

คลอดก่อนกำหนด คืออะไร

ดังนั้น การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ส่วนถ้าคลอดก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์จะเรียกว่า “แท้ง” เพราะฉะนั้น คำว่า “คลอดก่อนกำหนด” คือการคลอดในช่วงอายุครรภ์ 24-36 สัปดาห์กับ 6 วัน ซึ่งก็มีวิธีการแบ่งย่อยไปอีก เช่น ถ้าคลอดในช่วงอายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ 6 วัน เรียกว่า Late Pre-term ก็คือ การคลอดก่อนกำหนดช่วงหลัง ภาวะแทรกซ้อนก็จะน้อยกว่าการคลอดก่อนกำหนดในช่วง อายุครรภ์ 33 สัปดาห์กับ 6 วันลงมา ซึ่งเรียกว่า Early pre-term ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสูงขึ้น

อันตรายของ เด็กคลอดก่อนกำหนด

อันดับแรก คือ “เสียชีวิต” เด็กคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก รวมถึงยังมีโอกาสที่จะพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่

  • ปอดทำงานไม่ดี
  • มีภาวะเลือดออกในสมอง
  • มีภาวะเลือดออกในลำไส้

เด็กที่คลอดก่อนกำหนดนั้น อวัยวะต่างๆ เช่น ปอด หรือเส้นเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ยังไม่พร้อม ยกตัวอย่าง เด็กที่เกิดช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์เราจะไม่นับอายุหนึ่งวันตอนที่เขาเกิด แต่จะไปนับอยู่หนึ่งวันตอนที่เขาครบเทอม เหมือนตอนแรกเขายังไม่ได้เกิด ดังนั้นภาวะแทรกซ้อนทางร่างกาย 3 เรื่องนี้จึงถือเป็นเรื่องใหญ่

พอผ่าน 3 กรณีไป ก็จะมีปัญหาเรื่องตัวเหลือง เนื่องจากตับมีขนาดเล็ก มีภาวะเลือดจาง และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งหลังจากผ่านจุดนี้ก็ยังพบภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดจากการรักษา กรณีที่พบได้บ่อยคือ ตาบอด เพราะเด็กกลุ่มนี้จะได้รับออกซิเจนเป็นเวลานานซึ่งมีผลกับตา ทำให้มีโอกาสตาบอดได้และในระยะยาว

อาจจะพบปัญหาคือเจริญเติบโตได้ช้า เพราะเด็กกลุ่มนี้จะตัวเล็ก ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย  อวัยวะทำงานได้ไม่ดีเท่าเด็กทั่วไป เวลาโตขึ้นก็อาจจะเป็นโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ไขมันสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ จึงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้มากกว่าคนปกติทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด

ในทางสถิติ ประเทศไทยมีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอยู่ที่ประมาณ 12%ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญ คือ

  1. แม่มีปากมดลูกสั้นถ้ามีการตรวจด้วยอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดพบว่าปากมดลูกของแม่มีความยาวไม่ถึง 5 ซม. โอกาสคลอดก่อนกำหนดก็จะสูงขึ้น ส่วนในกรณีครรภ์แฝด จะมีกลไกที่ต่างออกไป คาดว่าเกิดจากการที่มดลูกมีการขยายตัวเร็วกว่าปกติ
  2. ถ้าแม่ตั้งครรภ์หรือคนในครอบครัวมีประวัติว่าเคยคลอดก่อนกำหนด ก็จะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้สูงขึ้น
  3. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเช่น ครรภ์แฝด แม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ก็อาจจะมีผลให้ทารกจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด

สัญญานเตือน อาการคลอดก่อนกำหนด

  1. มีภาวะความดันโลหิตสูง
  2. มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด
  3. มีอาการน้ำเดิน
  4. รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยผิดปกติ
  5. มีอาการท้องแข็งบ่อย

การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

ในทางสถิติ ประเทศไทยมีเด็กที่คลอดก่อนกำหนดอยู่ที่ประมาณ 12% ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญ คือ

  1. คุณแม่ควรมาตรวจสุขภาพก่อนที่จะตั้งครรภ์

เพื่อให้ปลอดภัยจากโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ถ้าพบความผิดปกติเหล่านี้ ควรทำการรักษาโรคให้ดีขึ้นก่อนที่จะตั้งครรภ์

  1. ถ้ารู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ควรรีบมาฝากครรภ์

เพราะการตรวจอัลตราซาวด์ ภายใน 3 เดือนแรก จะเป็นการยืนยันอายุครรภ์ได้ดีที่สุด และถ้ารู้ตัวว่ามีความเสี่ยง เช่น ท้องที่แล้วเคยคลอดก่อนกำหนด หรือคนในครอบครัวมีประวัติคลอดก่อนกำหนด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 18-22 สัปดาห์ ควรทำอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด

ถ้าพบว่ามีปากมดลูกสั้น แพทย์จะทำการป้องกันด้วยการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ใช้สอดในช่องคลอดเพื่อป้องกันไม่ให้ปากมดลูกสั้นลง ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันพบว่าสามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้ถึง 45% แต่ถ้ายังไม่ได้ผลก็อาจจะเย็บปากมดลูกหรือใช้ห่วงซิลิโคน (Pessary) เข้าไปรัดปากมดลูก แล้วแต่กรณี

  1. การผสมเทียมในกรณีที่มีบุตรยาก

บางครั้งแพทย์อาจจะใส่ตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว จึงเป็นต้นกำเนิดของครรภ์แฝด โดย 50 % ของครรภ์แฝดมีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ในปัจจุบันมีการให้ตรวจยีนและโครโมโซมของตัวอ่อน เพื่อให้ได้ตัวอ่อนที่แข็งแรง เพื่อที่จะใส่เข้าไปเพียงตัวเดียว

การดูแลคลอดก่อนกำหนด

เนื่องจากเด็กคลอดก่อนกำหนดจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป จึงต้องการความใส่ใจมากเป็นพิเศษ พ่อแม่ควรให้ความดูแลอย่างใกล้ชิด

อันดับแรก คือ เรื่องอาหาร

การให้นมแม่ถือว่าดีที่สุด แต่ปัญหาคือเด็กคลอดก่อนกำหนดอาจจะดูดนมไม่ได้ เพราะยังไม่แข็งแรง กว่าเด็กจะแข็งแรงพอที่จะดูดได้ นมแม่ก็อาจแห้งหมดแล้ว จึงต้องเสริมด้วยนมเฉพาะที่มีสารอาหารพิเศษสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด ถ้ากินนมผิดประเภทอาจจะทำให้ตัวใหญ่ บวม น้ำหนักมากเกินมาตรฐาน และจะนำมาซึ่งโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง

อันดับต่อมา พ่อแม่ต้องมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อตรวจสุขภาพเป็นระยะ เนื่องจากเด็กคลอดก่อนกำหนดมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป

ยกตัวอย่างเช่น ปอดจะมีขนาดเล็กและะพัฒนาน้อยกว่าเด็กอื่น ดังนั้น เด็กกลุ่มนี้จะมีโอกาสเป็นปอดบวมและปอดติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงพ่อแม่ต้องมีการดูแลเรื่องการออกกำลังกายและพัฒนาการของลูก ซึ่งพ่อแม่ต้องค่อยๆ กระตุ้นพัฒนาการเป็นระยะ ซึ่งพบว่าถ้ามีการดูแลอย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่ เด็กกลุ่มนี้ก็มีโอกาสที่จะแข็งแรงและพัฒนาได้เหมือนเด็กทั่วไป

[/fusion_text][/fusion_builder_column][/fusion_builder_row][/fusion_builder_container]

แสดงความคิดเห็น
By | 2023-06-22T15:26:53+07:00 พฤษภาคม 2nd, 2566|Categories: ข่าวประชาสัมพันธ์|0 Comments

About the Author: