การประชุม เรื่องการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงาน ประจำปี พ.ศ. 2566

///การประชุม เรื่องการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงาน ประจำปี พ.ศ. 2566

การประชุม เรื่องการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงาน ประจำปี พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยนางทองใบ  บุญกลิ่น นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งน้อย ประธานที่ประชุม ได้จัดประชุมการส่งเสริมจริยธรรมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  โดยมีคณะผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ และบุคลากรในสังกัดเทศบาลตำบลทุ่งน้อย จำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมนี้             มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมสุจริตในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและจึงกำหนดให้มีประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติตน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ก. จริยธรรมหลัก

(1) ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ประพฤติ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีและเทิดทูนรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์

(2) ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาตามกฎหมายและตามทำนองคลองธรรม โปร่งใส และมีจิตสำนึกที่ดี

(3) กล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม และกล้าแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือเสนอให้มีการลงโทษผู้ที่ทำสิ่งไม่ถูกต้อง

(4) คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ

(5) มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(6) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติ โดยการใช้ความรู้สึกหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวหรือเหตุผลของความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะของบุคคลหรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม

(7) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ ด้วยการรักษาเกียรติศักดิ์ของความเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียง

ข. จริยธรรมทั่วไป

(1) ยึดมั่นธรรมาภิบาลและอุทิศตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

(2) ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัด คุ้มค่า และระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหาย

(3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุภาพ เรียบร้อย และมีอัธยาศัยที่ดี

(4) มุ่งบริการประชาชน และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยความเป็นธรรม รวดเร็ว เสมอภาค และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

(5) จัดทำบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะ ต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

(6) ให้ข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริงแก่ประชาชนอันอยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้องครบถ้วนและไม่บิดเบือน

(7) เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

(8) ไม่กระทำการอันมีลักษณะเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม

(9) ต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างตรงไปตรงมา และไม่กระทำการเลี่ยงประมวลจริยธรรมนี้

และการรับทราบแนวทาง Do & Don’t พฤติกรรมทางจริยธรรมของข้าราชการ

ข้อควรทำ ( Do )

  1. แสดงออกถึงความภูมิใจในชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ และเชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบและปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใสพร้อมรับการตรวจสอบ
  3. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักความถูกต้อง ตามหลักกฎหมาย หลักวิชาการ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และกล้าแสดงความคิดเห็นทักท้วงเมื่อพบว่ามีการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
  4. ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือประโยชน์ของประชาชน หรือ ประเทศชาติเป็นหลัก
  5. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ เชื่อมั่นในระบบการทำงานเป็นทีม ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  6. ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม และไม่อาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการให้คุณให้โทษแก่นักการเมือง และพรรคการเมือง
  7. ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำความเสื่อมเสียและไม่ไว้วางใจให้เกิดแก่หน่วยงาน และตระหนักอยู่เสมอว่าตนเองต้องดำรงตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี

ข้อไม่ควรทำ ( Don’t )

  1. ไม่แสดงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าเป็นการต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือปล่อยปละละเลยโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่องานต่อหน่วยงาน ต่อรัฐบาลต่อประชาชน หรือต่อประเทศ
  3. ไม่ประพฤติปฏิบัติตนตามความพึงพอใจส่วนตัวหรือ ปล่อยปละละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นว่ามีการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นธรรม
  4. ไม่ปฏิบัติงานโดยมุ่งให้เกิดประโยชน์ของตัวเองมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
  5. ไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดความพึงพอใจส่วนตัว จนไม่คำนึงถึงผลสำเร็จของงาน หรือ ปล่อยปละละเลยหรือเพิกเฉยให้มีการกระทำดังกล่าว
  6. ไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม จากอคติหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการให้คุณให้โทษแก่นักการเมือง และพรรคการเมือง หรือปล่อยปละละเลยให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้
  7. ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียและไม่ไว้วางใจให้เกิดแก่หน่วยงาน และไม่กระทำตนที่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี

 

 

แสดงความคิดเห็น
By | 2023-03-24T10:34:15+07:00 มีนาคม 24th, 2566|Categories: 13.3 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร|0 Comments

About the Author: