ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

//ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา 2018-03-04T19:13:16+07:00

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเทศบาลตำบลทุ่งน้อย

คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ของเทศบาล  5  ด้าน  โดยมีรายละเอียดดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารทรัพยากรน้ำ และดิน อนุรักษ์ฟื้นฟู  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

เป้าประสงค์

– เทศบาลตำบลทุ่งน้อยมีดิน น้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาการเกษตรคุณภาพ พื้นที่การเกษตรมีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น

ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย     

1. จำนวนหมู่บ้านที่มีกลุ่มเกษตรกรจัดการดินและน้ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
2. จำนวนกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 5 ครัวเรือนต่อปี
3. จำนวนพื้นที่การเกษตรที่ลดการใช้สารเคมี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕ ต่อปี

กลยุทธ์

1. พัฒนาแหล่งน้ำหลัก เช่น หนอง คลอง บึง และแม่น้ำพิจิตร ให้มีความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์เกิดคุณค่าสูงสุดต่อการพัฒนาจังหวัดอย่างเป็นระบบ
2. ปฏิรูประบบการบริหารจัดการดินน้ำ และทรัพยากรแบบบูรณาการตลอดห่วงโซ่    ของธรรมชาติเพื่อรองรับการเกษตร และการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานการเกษตร และฐานชุมชนที่เข้มแข็ง

เป้าประสงค์

1. ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพมาตรฐานการส่งออก สินค้าทางการเกษตร สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน/หมู่บ้าน สร้างงาน อาชีพ และรายได้แก่ประชาชนชุมชน
2. หมู่บ้านมีศักยภาพในการพึ่งตนเองสูงประชาชนมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย     

1. มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรของตำบลทุ่งน้อย เช่น ข้าว ข่า พืชผลทางการเกษตร เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
2. จำนวนที่ลดลงของครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ จปฐ.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
3. จำนวนครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ครัวเรือนต่อปี
4. จำนวนถนนมีการปรับปรุงซ่อมแซม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
5. จำนวนการขุดลอกคูคลอง หนองบึง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ต่อปี

กลยุทธ์

1. ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของผลผลิตหลักทางการเกษตร
2. สร้างงาน อาชีพรายได้แก่ชุมชน ประชาชนจากฐานการเกษตร ภูมิปัญญาและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งตนเองทางรายได้อย่างยั่งยืน
3. สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก ส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จังหวัดให้มีคุณภาพที่แข่งขันได้4.
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เชิงเกษตรเชิงสุขภาพ และศาสนา วัฒนธรรม
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเชื่อมโยงในพื้นที่กับจังหวัด กลุ่มจังหวัดและ   ความเป็นเมือง

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างสังคมและคุณภาพชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์

– ปัญหาสังคมของจังหวัดในทุกด้านลดลงอย่างต่อเนื่องจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานและเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัด

ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย     

1. จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพดี มีงานทำไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5 ต่อปี
2. จำนวนแรงงานที่ได้รับการเสริมสร้างผลิตภาพเพิ่มขึ้น
3. จำนวนคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ที่ได้รับการพัฒนา และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. จำนวนเด็กและเยาวชนที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานครบ 100%
5. อัตราการลดลงของปัญหาอาชญากรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ต่อปี
6. อัตราที่ลดลงของคดียาเสพติด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ต่อปี

กลยุทธ์

1. พัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย และการปฏิรูประบบการศึกษาทุกระดับเพื่อสร้างสังคมที่มีคุณภาพ
2. เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และความสงบเรียบร้อยด้วยกลไกชุมชน หมู่บ้าน และการบูรณาการภาครัฐแบบเข้มข้น

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาขีดความสามารถทางการบริหารและบริการสู่สากล

เป้าประสงค์

1. คุณภาพการบริการขององค์กรภาครัฐและประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. ประชาชน ชุมชน ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และจังหวัดพิจิตรมีความพร้อมในการเป็นเมืองที่ไปสู่สากล

ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย     

1. จำนวนครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้วยการสร้างดัชนีความสุข  มวลรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ต่อปี
2. จำนวนสำนัก/กอง/งานที่ดำเนินการพัฒนาขีดสมรรถนะของการบริหารจัดการตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

กลยุทธ์

1. พัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพปฏิบัติการ เชิงรุกของภารกิจเทศบาลทั่วทุกพื้นที่
2. พัฒนาคุณภาพบริการ บุคลากรภาครัฐและปรับระบบการบริหารราชการแผ่นดิน  มีประสิทธิภาพที่มีธรรมาภิบาล
3. เตรียมพร้อมประชาชนสู่สากล ประชาคมอาเซี่ยน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและระบบการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ

เป้าประสงค์

– เทศบาลตำบลทุ่งน้อยพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมาย     

1. จำนวนโครงการ/ กิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกประเภท ให้มีคุณภาพอย่างน้อยปีละ  1  โครงการ
2. จำนวนโครงการ/ กิจกรรมที่ดำเนินการเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม อย่างน้อยปีละ  1  โครงการ

กลยุทธ์

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนพัฒนาทักษะวิชาชีพเบื้องต้นในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัย
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาทุกประเภทให้มีคุณภาพ
4. การสร้างความพร้อมของสื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ทันสมัย
5. การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม
6. พัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม