ข้อมูลพื้นฐาน

/ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐาน 2018-03-04T11:04:34+07:00

ข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบลทุ่งน้อย

ลักษณะที่ตั้ง จำนวนพื้นที่และอาณาเขต

สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร เดิมจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลทุ่งน้อย เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2552 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร เป็นเทศบาลตำบล  ทุ่งน้อย ประกาศ ณ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สำนักงานเทศบาลตำบลทุ่ง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของวัดทุ่งน้อย  โดยเรียบถนนคันคลองชลประทานซี 40 บ้านท่านา หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งน้อย มีบริเวณพื้นที่ตั้งสำนักงาน ประมาณ 39 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอโพทะเล ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพิจิตร ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร มีเนื้อที่รับผิดชอบ ประมาณ 28.47 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ 17,793 ไร่ มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 14,253 ไร่

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลวัดขวาง อำเภอโพทะเล

ด้านทิศเหนือ  เริ่มจากหลักเขตที่ 1 ตั้งอยู่ตรงบริเวณกึ่งกลางคลองไดมาบประทา บริเวณพิกัด  PT 367841 จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต  ระหว่างตำบลวัดขวาง กับตำบล  ทุ่งน้อย ไปทางทิศตะวันออกผ่านบึงสนุ่น ไปตามแนวทุ่งนา ถึงหลักเขตที่ 2 ซึ่งตั้งอยู่ตรงบริเวณริมคลองส่งน้ำชลประทาน  บริเวณพิกัด PT 386486 รวมระยะประมาณ 1,800 เมตร จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลวัดขวาง กับตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล ไปทางทิศตะวันออก  ตัดผ่านคลอง ส่งน้ำชลประทาน แม่น้ำพิจิตร และผ่านถนนสายวัดขวาง – ทุ่งน้อย  ถึงหลักเขตที่ 3  ซึ่งตั้งอยู่ตรงบริเวณ ทุ่งนา บริเวณพิกัด PT 400842  รวมระยะประมาณ 1,400 เมตร จากหลักเขตที่ 3  เป็นเส้นเลียบตามแนว ทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลวัดขวาง กับตำบลทุ่งน้อย  ไปทางทิศตะวันออก ตัดผ่านคลองส่งน้ำชลประทาน  ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทุ่งนา บ้านทุ่งน้อย บริเวณพิกัด PT 418843 รวมระยะประมาณ 2,000 เมตร จากหลักเขตที่ 4  เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลวัดขวาง กับตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล ไปทางทิศตะวันออกผ่าไปตามแนวคันนา ถึงหลักเขตที่ 5 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทุ่งนา  บ้านทุ่งน้อย บริเวณพิกัด PT 433844 รวมระยะประมาณ 1,500 เมตร จากหลักเขตที่ 5  เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบล  วัดขวางกับตำบลทุ่งน้อย  ไปทางทิศตะวันออกตามแนวคันนา ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางคลองศาลาบริเวณพิกัด PT 442846 รวมระยะประมาณ 900  เมตร

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล

ด้านทิศใต้ จากหลักเขตที่ 8  เป็นเส้นเลียบตามแนวคลองศาลา  ผ่านทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลคลองคูณ  อำเภอตะพานหิน  กับ ตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดผ่านคลองส่งน้ำชลประทาน  ผ่านทุ่งนาริมบ้านท่าช้าง  ตัดผ่านถนนสายทุ่งน้อย – ท่าบัว  และตัดผ่านแม่น้ำพิจิตร  ถึงหลักเขตที่ 9  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทุ่งนาของบ้านท่าดาน บริเวณพิกัด  PT 414818 รวมระยะประมาณ  1,600  เมตร จากหลักเขตที่ 9  เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่าบัวกับตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ตัดผ่านแม่น้ำพิจิตร  ผ่านถนนสายทุ่งน้อย – ท่าบัว ถึงหลักเขตที่  10  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทุ่งนาริมบ้านท่าช้าง  บริเวณพิกัด  PT 428811 รวมระยะประมาณ  1,600  เมตร จากหลักเขต  ที่ 10  เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่าบัว กับตำบลทุ่งน้อย  ไปทางทิศใต้ตัดผ่านถนนสายตำบลทุ่งน้อย – ตำบลท่าบัว  ตัดผ่านแม่น้ำพิจิตร  ถึงหลักเขตที่  11 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทุ่งนาบ้านไร่  บริเวณพิกัด PT 423792 รวมระยะประมาณ 1,800 เมตร จากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นเลียบตาม  แนวทุ่งนา  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่าบัว กับตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้  ผ่านทุ่งนาบ้านไร่ ถึงหลักเขตที่ 12  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางคลองส่งน้ำชลประทาน  บริเวณพิกัด  PT 421791  รวมระยะประมาณ  200  เมตร จากหลักเขตที่ 12  เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่าบัว กับตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล  ไปทางทิศตะวันตก  ผ่านทุ่งนาบริเวณบึงสรรพงาย  ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางถนนสรรพงาย – ทุ่งน้อย  บริเวณพิกัด  PT 405793 รวมระยะประมาณ  2,300  เมตร จากหลักเขตที่ 13  เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่าบัว กับตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล ไปทางทิศตะวันตก ผ่านทุ่งนาบริเวณบึงสรรพงาย ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทุ่งนา  บริเวณพิกัด  PT  388794  รวมระยะประมาณ  1,700 เมตร จากหลักเขตที่ 14 เป็นเส้นเลียบตามแนวทุ่งนา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่าบัว กับตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล ไปทางทิศตะวันตกตัดผ่านถนนสายคลองตางาว ถึงหลักเขตที่ 15  ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางคลองตางาว บริเวณพิกัด PT 373797 รวมระยะประมาณ  1,500  เมตร

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคลองคูณ อำเภอตะพานหิน

ด้านทิศตะวันออก  จากหลักเขตที่ 6  เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางคลองศาลา ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต  ระหว่างตำบลคลองคูณ อำเภอตะพานหิน กับ ตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล ไปทางทิศใต้ ผ่านไปตามแนวกึ่งกลางคลองศาลา ถึงหลักเขตที่ 7  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางคลองศาลา  บริเวณพิกัด PT  448834รวมระยะประมาณ  1,200  เมตร จากหลักเขตที่ 7  เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางคลองศาลา  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลคลองคูณ  อำเภอตะพานหิน  กับตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล  ไปทางทิศใต้ ผ่านไปตามแนวกึ่งกลางคลองศาลา  ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากคลองแยกกึ่งกลางคลองศาลา  บริเวณพิกัด  PT 456822 รวมระยะประมาณ 1,900  เมตร

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลโพทะเล อำเภอโพทะเล

ด้านทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ 15  เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางคลองตางาว  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลโพทะเล กับ ตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล  ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองตางาว  ถึงหลักเขตที่ 16 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากคลองแยกเข้าบ้านโพทะเล บริเวณพิกัด  PT 374803 รวมระยะประมาณ 1,000 เมตร จากหลักเขตที่ 16 เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางคลองตางาว ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลโพทะเล  กับตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล ไปทางทิศเหนือ ผ่านไปตามแนวกึ่งกลางคลองตางาว  ถึงหลักเขตที่ 17 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากคลองแยกเข้าบ้านคลองตางาว บริเวณพิกัด  PT 381817 รวมระยะประมาณ 1,300 เมตรจากหลักเขตที่ 17  เป็นเส้นเลียบตามแนวกึ่งกลางคลองตางาว  ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลโพทะเล  กับตำบลทุ่งน้อย  อำเภอโพทะเล  ไปทางทิศเหนือ ผ่านไปตามแนวกึ่งกลางคลองตางาว จนบรรจบกับหลักเขตที่ 1 รวมระยะประมาณ 1,800 เมตร

สภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิประเทศ

ตำบลทุ่งน้อย อยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน  มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม โดยมีแม่น้ำพิจิตรเก่า อยู่ระหว่างกลาง มีคลองชลประทาน มีเนื้อที่ประมาณ 28.47 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม

สภาพภูมิอากาศ

ตำบลทุ่งน้อย มีสภาพภูมิอากาศคล้ายคลึงกับจังหวัดทั่วไปในภาคกลาง  แบ่งเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

เขตการปกครองและประชากร

เทศบาลตำบลทุ่งน้อย แบ่งออกเป็น 7 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1  บ้านท่าโพธิ์   นายประสิทธิ์   บัวทอง   ตำแหน่ง   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2  บ้านท่านา   นางทิวา   อาสว่าง   ตำแหน่ง   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 3  บ้านท่าดาน   นายเรือง   เมืองฤทธิ์   ตำแหน่ง   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 4  บ้านทุ่งน้อย   นายชนะ   กลั่นนุช   ตำแหน่ง   กำนันตำบลทุ่งน้อย
หมู่ที่ 5  บ้านท่าโบสถ์   นายสุชาติ   พูนหมี   ตำแหน่ง   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 6  บ้านท่ายา   นางสำเนียง   ศรีอินทร์   ตำแหน่ง   ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 7  บ้านท่าบัวทอง   นายนิพนธ์   จาดฤทธิ์    ตำแหน่ง   ผู้ใหญ่บ้าน

ช่วงอายุและจำนวนประชากร จำนวนประชากร จำแนกตามช่วงอายุ ที่อาศัยอยู่ในครัวเรือน สรุปประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันสำรวจ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2558

จำนวนประชากรครัวเรือน

ประชากร ตำบลทุ่งน้อย มี 3,651 คน แยกเป็น ชาย  1,763  คน หญิง 1,888 คน   มีความหนาแน่นของจำนวนประชากร 128.24 คน/ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 28.47 ตร.กม.) มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,091 ครัวเรือน จะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรของเทศบาลตำบลทุ่งน้อย มีอัตราเปลี่ยนแปลง  ปี 2559 (ปีปัจจุบัน) ลดลง/เพิ่มขึ้น จาก ปี 2558 (ปีที่ผ่านมา) นั้น สรุปได้ว่า จำนวนประชากรลดลง 27 คน จำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้น จำนวน 10 ครัวเรือน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของประชากรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเกิด การตาย การย้ายถิ่นฐานของประชากร ภายในเขตเทศบาลตำบลทุ่งน้อย

ข้อมูลจากสำนักทะเบียนราษฎร์ของอำเภอโพทะเล ประจำเดือน มีนาคม  พ.ศ. 2559

การศึกษา

จำนวนประชากรจำแนกตามระดับการศึกษา ปี 2558 ข้อมูลความเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล

มีสถานศึกษาระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2

มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง อยู่ในการดูแลของเทศบาลตำบลทุ่งน้อย

สถานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ประจำตำบลทุ่งน้อย จำนวน 1 แห่ง   ที่ตั้ง หมู่ที่ 2 บ้านท่านา ตำบลทุ่งน้อย อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร โดยภารกิจสำคัญของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ไม่มีโอกาสศึกษาในระดับประถม-มัธยม ในรูปโรงเรียน มาศึกษาได้ โดยจะได้รับวุฒิการศึกษาเป็น ประถม ม.ต้น ม.ปลาย (เทียบกับในโรงเรียนจะเป็นวุฒิการศึกษา ประถม(ป.6) ม.3 และ ม.6)

การสังคมสงเคราะห์

จำแนกการสังคมสงเคราะห์ตามโครงการหลักประกันรายได้แก่ผู้สูงอายุ  โครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการทางสังคมแก่ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และการสนับสนุนการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์

การสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งน้อย  จำนวน 1  แห่ง โดย นายจีรยุทธ  ชาญณรงค์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งน้อย เป็นผู้กำกับดูแล ซึ่งมีบุคลากรทางการแพทย์  ที่ปฏิบัติหน้าที่ ในสถานพยาบาลในเขตพื้นที่ ดังนี้
–  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ  จำนวน  1  คน
–  เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน  จำนวน  1  คน
–  พยาบาลวิชาชีพชำนาญกา  จำนวน  1  คน
–  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  จำนวน  91  คน
–  สถานพยาบาล คลินิก  จำนวน  3  แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งกักเก็บน้ำตำบลทุ่งน้อย

ด้านการท่องเที่ยว

หลวงพ่อโต (วัดทุ่งน้อย)

จากการสืบค้นของ ศึกษาสุธีร์ ภูวสรรเพ็ชญ์ อดีตศึกษาธิการอำเภอโพทะเล ปี พ.ศ.2524  มีใจความดังนี้ เมื่อประมาณ  300 ปีเศษมาแล้ว ได้มีมูลดินเป็นโคกใหญ่อยู่ในป่าหนาทึบ มีประชาชนไปหาเห็ดและคุ้ยเขี่ยบริเวณนั้น บังเอิญพบเศียรหลวงพ่อโตโผล่ขึ้นมาจากดิน ลองขุดดูจึงรู้ว่าเป็นเศียรพระพุทธรูป ประชาชนต่างพากันไปกราบไหว้ขอน้ำมนต์อาบและกินเป็นศิริมงคล จึงเกิดความศักดิ์สิทธิ์แพร่กระจายไปไกลมาก ต่อมามีนักการพนันคนหนึ่งไปบนขอให้ร่ำรวยในการไปเล่นการพนัน ถ้าไม่รวยจะกลับมาตีให้เละ แต่นักพนันคนนั้นไม่ประสบความสำเร็จจึงมาตีหลวงพ่อโตจนเละ ในคืนนั้นนักการพนันทั้งมือและเท้าบวมทั้งตัวจึงต้องไปกราบขอขมาหลวงพ่อโต โดยมีบายศรี ซ้าย – ขวา ร่มกระดาษ 1 คัน ดอกไม้ ธูป เทียน – ทอง และนำน้ำไปทำน้ำมนต์อาบและดื่มจึงหาย และอีกเรื่องยังมีพ่อค้าข้าวชาวจีนชื่อง่วนกี่ ได้นำเรือบรรทุกข้าวเปลือกไปขายโดยผ่านบริเวณนั้น จึงยกมือไหว้และบนให้ขายข้าวได้ราคาดี เมื่อกลับมาจะทำร่มคันใหญ่ และปลูกโรงให้พอประมาณ ชาวจีนท่านนั้นก็ประสบความสำเร็จตามที่ขอไว้ จึงดำเนินการตามที่ขอไว้ทำให้ผู้คนเคารพศรัทธามากขึ้นจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในสมัย  พระครูศรีโสภณเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งน้อย จึงชักชวนประชาชนอันเชิญหลวงพ่อโตมาประดิษฐานในวัดทุ่งน้อย แต่เหตุการณ์กลับไม่ง่ายดังที่คิดเพราะประชาชนจำนวนมากไม่สามารถยกหลวงพ่อโตขึ้น จึงปรึกษากันนำช้างมาฉุด แต่ก็ไม่สำเร็จ หมดปัญญา จึงทำการเสี่ยงทายโดยพิธีแม่โพสพว่าถ้าจะไปอยู่วัดทุ่งน้อยขอให้ยกขึ้น น่าอัศจรรย์สามารถยกเศียรหลวงพ่อโตขึ้น จึงนำมาประดิษฐานในวิหารปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของชาวบ้านในละแวกนั้น จากลักษณะของหลวงพ่อโตน่าจะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

วัดเถรน้อย (วัดท่าโบสถ์)

อยู่ในเขตหมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งน้อย ในตำนานจัดได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญที่สุดในอดีตเคยมีโบสถ์ และเสนาสนะเก่าๆอยู่ แต่ในปัจจุบันได้ถูกรื้อถอนสร้างของใหม่ เหลือเพียงใบเสมาสลักด้วยหินแต่ชำรุดเก็บวางไว้ในพระอุโบสถ มีใบที่สมบูรณ์ตั้งอยู่หน้าอุโบสถเก่าวัดท่าบัว โดยปรับปรุงเมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ปัจจุบันพระครูพิพิธธม.มปโชติเป็นเจ้าอาวาส

ประเพณี

1) งานประเพณีปิดทองไหว้พระ งานเพ็งเดือนสาม  เดือนกุมภาพันธ์  กิจกรรมโดยสังเขป  ทำบุญตักบาตร ปิดทองไหว้พระ, จัดการแข่งขันกีฬาภายในตำบล

2) งานประเพณีสงกรานต์  เดือนเมษายน  กิจกรรมโดยสังเขป ทำบุญตักบาตร,รดน้ำ  ดำหัวผู้สูงอายุ

3) งานประเพณีปิดทองไหว้พระ งานเพ็งเดือนสิบเอ็ด  เดือนตุลาคม  กิจกรรมโดยสังเขป  ทำบุญตักบาตร ปิดทองไหว้พระ,จัดการแข่งขันเรือยาวประเพณี

4) งานประเพณีลอยกระทง  เดือนพฤศจิกายน กิจกรรมโดยสังเขป ทำบุญตักบาตร, จัดงานลอยกระทงในเวลากลางคืนที่วัด

5) กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ  วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา อาสาฬหบูชา  เดือนกุมภาพันธ์,พฤษภาคม,กรกฎาคม  กิจกรรมโดยสังเขป ทำบุญตักบาตร, ฟังพระธรรมเทศนา, เวียนเทียน

6) งานประเพณีเข้าพรรษา  เดือนกรกฎาคมกิจกรรมโดยสังเขป  ทำบุญตักบาตร, ถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน, ถือศีลภาวนาปฏิบัติธรรม

7) งานประเพณีออกพรรษา  เดือนตุลาคม  กิจกรรมโดยสังเขป  ทำบุญตักบาตร, ตักบาตรเทโวโลหะนะ

ด้านความมั่นคง

สถานการณ์ยาเสพติด

เทศบาลตำบลทุ่งน้อย อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดพิจิตร สถานการณ์ยาเสพติดของเทศบาลตำบลทุ่งน้อย จากการประเมินของสำนักงาน ป.ป.ส. พบว่าไม่มียาเสพติดเพื่อจำหน่าย หรือเสพ

บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมของทางการเมืองการบริหาร